Our Services

ธุรกิจแนะนำการลงทุน

ธุรกิจแนะนำการลงทุน

วางแผนการลงทุนเริ่มต้นอย่างไร

วางแผนการลงทุนเริ่มต้นอย่างไร

เรียกได้ว่าเป็นคำถามที่ใครหลายคนต่างสงสัยและไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยปัจจุบันที่ธนาคารพาณิชย์ต่างทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่จากสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งสวนทางกับค่าครองชีพที่มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

เอาล่ะ! ก่อนที่เราจะเริ่มเรื่อง “วางแผนการลงทุนเริ่มต้นอย่างไร” นั้น ผมคิดว่าเราควรทำความเข้าใจกับสิ่งๆหนึ่งก่อนเป็นลำดับแรก โดยผมอยากให้คุณลองคิดตามว่า วันนี้หากเราไม่ลงทุนอะไรเลย สิ่งๆหนึ่งที่เราต้องเผชิญและหลีกเลี่ยงได้ยากนั่นคือ ..“ความเสี่ยง”..

ความเสี่ยงที่ว่านั้น คือ ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ, ความเสี่ยงต่อการถูกขโมยขึ้นบ้าน, ความเสี่ยงจากไฟไหม้บ้าน และความเสี่ยงอื่นๆ เป็นต้น

เห็นไหมว่า สิ่งที่เราคิดว่าไม่เสี่ยง กลับพบว่าแท้จริงแล้ว เสี่ยงยิ่งกว่า…

ตอนนี้พวกเราทุกคนคงพอจะเข้าใจแล้วว่า ทำไมเราควรต้องเริ่ม “วางแผนลงทุน” เสียตั้งแต่วันนี้ ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มศึกษาที่ “สามเหลี่ยมการลงทุน” ก่อนเป็นลำดับแรก

สามเหลี่ยมการลงทุน ประกอบไปด้วย

1. เงินสำรองฉุกเฉิน : คือเงินส่วนที่เราจะเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน หรือ ช่วงเวลาที่เราขาดรายได้แต่เรายังมีรายจ่ายประจำนั่นเอง ผมแนะนำว่าเราควรเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาโดยการกันเงินสำรองไว้มากกว่า 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำต่อเดือน ยกตัวอย่างเช่น หากเรามีค่าใช้จ่ายประจำต่อเดือนที่ 10,000 บาท ฉะนั้นเราควรเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินไว้ที่ 30,000-60,000 บาทนั่นเอ

2) การถ่ายโอนความเสี่ยง : ในชีวิตคนเรานั้นย่อมพบเจอกับความเสี่ยงจากหลายๆด้าน อาทิเช่น
  • ความเสี่ยงด้านสุขภาพ/เจ็บป่วยโรคร้ายแรง : หลายท่านอาจบอกว่าบริษัทฯที่ตนทำงานอยู่นั้นมีสวัสดิการ (Welfare) ส่วนนี้รองรับ แต่อย่าลืมว่าสวัสดิการส่วนนี้เราถือว่าเป็นสวัสดิการติดโต๊ะ คือหากคุณลาออกจากงาน สวัสดิการส่วนนี้ถือเป็นอันสิ้นสุด ดังนั้นหากคุณเจ็บป่วยเรื้อรังแล้วล่ะก็บริษัทฯจะยังจ้างงานคุณเหมือนเดิมหรือไม่
เมื่อคุณอ่านมาถึงตรงนี้แล้วพบคำตอบว่า “ไม่”..แล้วละก็ ผมขอแนะนำให้คุณจัดหา ประกันสุขภาพดีๆที่เหมาะสมกับตัวคุณเสียแต่วันนี้…

  • ความเสี่ยงด้านชีวิตและทรัพย์สิน : ทุกอย่างบนโลกนี้ล้วนมีแต่ความไม่แน่นอน ยิ่งหากเรามีคนที่ต้องดูแลแล้วนั้น ความเสี่ยงด้านชีวิตเป็นสิ่งที่เราควรคำนึงถึง โดยการ “ทำประกันชีวิต” ที่มีมูลค่าเหมาะสมและเพียงพอต่อภาระหนี้สินและค่าใช้จ่ายสำหรับคนที่ต้องอยู่ต่อไป หรืออนาคตหากเราเจออุบัติเหตุไม่คาดคิด แล้วเรากลายเป็นบุคคลที่ไร้ความสามารถ เราคงไม่อยากเป็นภาระให้กับครอบครัว ผมแนะนำเป็นประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองกรณีทุพพลภาพ

3) การออมเพื่อเป้าหมายแบ่งตามระยะเวลา : ในอนาคตเรามีเป้าหมายที่อยากจะใช้จ่ายเพื่อเป็นเจ้าของสินทรัพย์ต่างๆ ดังนั้นเพื่อให้เราใช้จ่ายได้อย่างไม่ติดขัดเราก็ควรวางแผนการออมเงิน โดยผมแนะนำให้วางแผนเป็นระยะเวลา ดังนี้

  • ระยะสั้น : คือ 1-3 ปีข้างหน้า คุณต้องลิสเป้าหมายหรือความต้องการในอนาคต อาทิเช่น คุณอยากได้รถสักคัน, อยากเรียนต่อ และอื่นๆ
  • ระยะกลาง : คือ 5-7 ปีข้างหน้า คุณอาจจะมองหาบ้านหลังใหม่, อยากแต่งงาน, อยากมีลูก และอื่นๆ
  • ระยะยาว : คือมากกว่า 7 ปีขึ้นไป คุณอาจจะมองเรื่องการใช้ชีวิตยามเกษียณ

ดังนั้นเมื่อเราทราบถึงเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว เราต้องวางแผนการลงทุนให้เหมาะสม กับเป้าหมายและระยะเวลาโดยพิจารณาเรื่องความเสี่ยงของช่วงอายุประกอบด้วย

4. การลงทุนเพื่อการเก็งกำไร : ลำดับนี้เป็นการนำเงินส่วนที่เหลือมาลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทน โดยผมแนะนำว่าควรเป็นเงินส่วนที่เหลือจากการใช้จ่าย และไม่มีเรื่องให้ต้องใช้เงินส่วนนี้ในอนาคตอันใกล้

5. วางแผนส่งมอบมรดก : คือการวางแผนสินทรัพย์ของเราเพื่อส่งต่อให้กับลูกหลาน เพื่อป้องกันการทะเลาะเบาะแว้งเรื่องการแย่งทรัพย์สมบัติของคนในตระกูลนั่นเอง

หมายเหตุ : หากเราวางแผนได้ครบตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้ว อย่าลืม บริหารภาษีอย่างถูกวิธีด้วยนะ

CR : ธฤณภัฏ รัตน์วรากร